กฎหมายไทยยังมีการจำกัดสิทธิการถือครองอสังหาริมทรัพย์ทาวน์เฮ้าส์

การที่ผู้ประกอบการไทยจะเข้าไปบุกตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศอาเซียนได้อาจเป็นเรื่องค่อนข้างท้าทายในระยะสั้น เพราะหัวใจหลักของธุรกิจที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องของ Location หากผู้ประกอบการที่แต่เดิมทำตลาดที่อยู่อาศัยเฉพาะในกรุงเทพฯ http://www.bkkcitismart.com/Townhouseคิดจะไปทำตลาดในต่างจังหวัด ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัย Local Partner ในเรื่องของการหาทำเล ดังนั้นหากมองในแง่ของตลาดต่างประเทศ จึงน่าจะยากกว่าตลาดในประเทศมากขึ้นไปอีก รวมถึงเรื่องของกฎระเบียบของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน ขณะที่ธุรกิจที่อยู่อาศัย มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก

แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับว่าเมื่อเกิด AEC จะมีการลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค หรือมีการปรับกฎระเบียบต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งการที่จะมีชาวอาเซียนเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งจากการเข้ามาทำธุรกิจ ลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน โอกาสที่ตามมา คือเนื่องจากปัจจุบันกฎหมายไทยยังมีการจำกัดสิทธิการถือครองอสังหาริมทรัพย์ และการกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติ ดังนั้น หลังจากการเข้าสู่ AEC จึงขึ้นอยู่กับว่าหากธนาคารพาณิชย์ของไทยกับรัฐบาลไทยเอื้อให้ชาวต่างชาติเข้ามากกู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้านได้ ก็จะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในกลุ่มลูกค้าอาเซียนมีโอกาสในการเติบโตขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

อีกสิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเพื่อรองรับกับโอกาสที่อาจจะเกิดได้ คือชาวต่างชาติไม่ใช่คนไทย คือเราเข้าใจความแตกต่างระหว่างชาวต่างชาติกับคนไทยมากน้อยแค่ไหน เราใช้สมมติฐานเดิมในการทำธุรกิจหรือเปล่าว่าคนที่ต้องการที่อยู่อาศัยต้องการ Product แบบนี้ แบบนั้น ทั้งๆที่นั่นอาจเป็นพฤติกรรมของคนไทยที่ผู้ประกอบการทาวน์เฮ้าส์มีความคุ้นเคย และอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ชาวต่างชาติ เช่น คนสิงคโปร์ เวียดนาม หรือฟิลิปปินส์ ต้องการ เพราะระดับรายได้ และ Lifestyle ของคนในแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน