ปวดท้องแบบไหนที่ใช่โรคกระเพาะ ?

ปวดท้องเฉียบพลัน นับเป็นการปวดรุนแรงที่อาจไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเราต้องความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดจากโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคกระเพาะก็เป็นได้ อาทิ โรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปวดท้องเรื้อรัง นับเป็นอาการปวดท้องที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด จะมีลักษณะอาการเป็นปวดๆ หายๆ ต่อเนื่องกันมาไม่น้อยกว่า 1 เดือน อาจเป็นการปวดท้องที่เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร เช่น ปวดขณะที่หิว หรือปวดขณะที่อิ่ม แต่เป็นการปวดที่ทนได้ ซึ่งเมื่อรับประทานยาลดกรด หรือรับประทานอาหารแล้วก็มีอาการดีขึ้น

โรคกระเพราะอาหารที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดเรื้อรัง

ได้มีแพทย์ท่านหนึ่งอธิบายเพิ่มเติมเอาไว้ว่าสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด เริ่มจาก โรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหาร เช่น การเป็นแผลในกระเพาะ เป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น กระเพาะอาหารอักเสบ หรือเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร ซึ่งอัตราที่จะเกิดโรค หรือภาวะเหล่านี้นั้นมีประมาณร้อยละ 20 – 25 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง

นอกจากนั้น โรคกระเพาะก็อาจขึ้นได้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีความผิดปกติทางกายภาพภายในกระเพราะเลย แต่ก็อาจเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติ อาทิ การบีบตัวของกระเพาะกับลำไส้ที่ทำงานไม่ประสานกัน หรืออาจเกิดจากสภาพกรดในกระเพาะที่มีมากเกินไป แต่ไม่ทำให้เกิดแผล ซึ่งสาเหตุที่ว่ามานี้ก็ทำให้ผู้ป่วยร้อยละ 70 – 75 ต้องเดินทางมาพบแพทย์ แต่ถึงยังไงก็ตาม ความผิดปกติภายในกระเพาะอาหารที่เกิดจากกรดนั้น ผู้ป่วยก็อาจไม่มีอาการปวดท้องเสมอไป โดยผู้ป่วยหลายรายอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำ มีสาเหตุมาจากแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดมาจากกรดเกิน ในบางรายอาจมีอาการแสบแน่นที่หน้าอกเนื่องจากกรดไหลย้อน ทำให้หลอดอาหารอักเสบ รวมไปถึงมีอาการไอ เนื่องจากมีการอักเสบขึ้นมาถึงคอ โดยรวมแล้วก็เป็นเรื่องของโรคกระเพาะอาหารทั้งสิ้น